ปัจจุบันปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำให้หลายคนตกเป็นเหยื่อ เสียทั้งทรัพย์สินและเสียเวลาดำเนินคดี น้องจ๊อบมีข่าวสารดีๆ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รวบรวมข้อมูลจาก Whoscall (แอปพลิเคชันช่วยเช็กเบอร์มิจฉาชีพ) เปิดสถิติปี 2564 ที่รวม 14 อุบายโจรที่ใช้โทร ส่งข้อความ แอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชนแล้วหลอกลวงผู้เสียหายให้โอนเงิน มาทำความรู้จักกลโกงที่รวบรวมจากสถิติผู้ใช้งาน Whoscall ทั่วโลก ที่มิจฉาชีพมักใช้ล่อลวงเหยื่อกัน
- ชักชวนให้ลงทุนในหุ้นหรือคริปโท
- มีงานให้ทำ รับสมัครงานรายได้ดี
- ไมล์ตั๋วเครื่องบินหมดอายุ
- หลอกขายตั๋วชมกีฬา
- แจ้งยอดค่าบริการมือถือเกินกำหนด
- นัดเจอเพื่อออกเดท
- หลอกปล่อยกู้
- ชักชวนให้ดาวน์โหลดแอปฯอันตราย
- แจ้งว่าพัวพันในคดี เช่น ฟอกเงิน ค่าปรับจราจร
- มีพัสดุค้างอยู่ในด่านศุลกากร
- มีพัสดุมาส่ง
- แจ้งการใช้งานบัตรเครติดที่ไม่ได้อนุญาต
- มีการโอนเงินเข้า/ออก จากบัญชี
- หลอกว่าเป็นเพื่อน/ครอบครัว ยืมเงิน ขอเงิน
วิธีการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ
- ถ้ามีเบอร์แปลก เบอร์ที่ไม่รู้จักโทรเข้ามา อ้างตัวเองเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบริษัทเอกชน บอกว่าเรามีความผิด มีหนี้ค้างชำระ(ที่ไม่ได้ใช้จ่ายจริง) หรืออื่นๆ ที่เราไม่ได้เกี่ยวข้อง ให้ตัดสายทิ้ง บล็อคเบอร์นั้นทันที เลี่ยงการสนทนาเพราะแก็งค์มิจฉาชีพอาจออกอุบายหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของเราได้
- เมื่อมีรายการที่ต้องจ่าย พยายามหลีกเลี่ยงการโอนจ่ายทันที ควรนำหมายเลขบัญชีธนาคารไปเช็กก่อนว่ามีชื่ออยู่ในรายชื่อบัญชีคนโกงไหม หากเป็นกรณีที่ให้โอนเงินเพื่อขอตรวจสอบบัญชี ก็ให้สันนิษฐานไว้เลยว่ามิจฉาชีพแน่นอน ห้ามโอนโดยเด็ดขาด
- ตั้งสติ อย่าตกใจ อย่าหลงเชื่อกลโกงของมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการโทร, ส่งข้อความ (SMS), ไลน์, หรือ Facebook Messenger ควรตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดทุกครั้ง ก่อนทำธุรกรรมออนไลน์
- หากพบเจอแก๊งมิจฉาชีพหลอกลวง สามารถแจ้งเบาะแสของแก๊งคอลเซ็นเซอร์ที่โทรมาหลอกลวง ผ่านเครือข่ายมือถือที่ใช้งาน 3 ช่องทาง ดังนี้ 1.AIS โทร.1185 2.True โทร.9777 3.Dtac โทร.1678 หรือแจ้งได้ที่สายด่วน บช.สอท. โทร.1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000 ตลอด 24 ชม. ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ thaipoliceonline.com
ที่มา: