ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป คนทำงานอย่างเรา จะมีหลักประกันใหม่เพิ่มอีกหนึ่งอย่าง คือ “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” ภายใต้การดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่จะช่วยดูแลเรากรณีลาออก ถูกเลิกจ้าง หรือเกษียณ หลายคนที่กำลังสงสัยว่า กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คืออะไร กองทุนนี้ต่างจากประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ
Q1: กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างคืออะไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร?
A: กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองและมีเงินเก็บเพื่อเป็นหลักประกันการใช้ชีวิตของลูกจ้าง โดยจะนำเงินสมทบที่ได้จากนายจ้างและลูกจ้างไปลงทุนให้มีผลตอบแทน และเป็นหลักประกันการเก็บเงินให้กับลูกจ้าง คล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยกองทุนดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 เป็นต้นไป
.
Q2: ลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบ ในอัตราเท่าไร?
A: เงินสมทบจะร่วมกันส่งระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง ในอัตราเท่าๆ กัน ดังนี้
- ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2568 – 30 กันยายน 2573 อัตราฝ่ายละ 0.25% ของค่าจ้าง (ไม่มีเพดาน)
- ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2573 เป็นต้นไป อัตราฝ่ายละ 0.50% ของค่าจ้าง (ไม่มีเพดาน)
.
Q3: ต่างกับประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร?
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง |
ประกันสังคม |
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสลช.) |
|
อัตราสมทบ |
|
พนักงาน + นายจ้าง + รัฐ ฝ่ายละ 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน |
ตามที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน |
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ |
เพื่อสร้างเงินสำรองเมื่อ ลาออก, ถูกเลิกจ้าง, เกษียณ, หรือเสียชีวิตทันทีหลังออกจากงาน |
คุ้มครองความเสี่ยง เช่น เจ็บป่วย, คลอด, ทุพพลภาพ, ว่างงาน, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ (รับบำนาญเมื่ออายุ 55 ปี) |
ออมเพื่อการเกษียณ, อาจเบิกก่อนเกษียณในกรณีพิเศษ เช่น ทุพพลภาพ หรือออกจากงาน |
การถอนเงิน |
ถอนคืนได้ทันทีเมื่อออกจากงาน ไม่ต้องรออายุเกษียณ |
ถอนคืนได้เฉพาะกรณีว่างงาน (เงินทดแทน) หรือเมื่อเสียชีวิตรับเงินบำนาญเมื่ออายุ 55+ ต้องจ่ายครบตามเงื่อนไข |
ถอนเมื่อออกจากงาน เกษียณ หรือบางกรณีพิเศษตามกองทุน เช่น ทุพพลภาพ |
สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
จะมีการประกาศต่อไปในอนาคต |
เงินสมทบใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่ใช่ในขณะที่ลาออกเมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีบางส่วน |
เงินสะสมลูกจ้างใช้ลดหย่อนได้ตามกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
.
Q4: ลูกจ้างที่มี “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” อยู่แล้ว ยังมีสิทธิ์อยู่ในกองทุนนี้หรือไม่?
A: กรณีที่พนักงานเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ รอบการจ่ายเงินค่าจ้าง วันที่ 1 ตุลาคม 2568 จะไม่สามารถสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้
อย่างไรก็ตาม กรณีที่พนักงานไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ รอบการจ่ายเงินค่าจ้างวันที่ 1 ตุลาคม 2568 หรือภายหลังจากนั้นมีการลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้าง พนักงานจะถูกจัดให้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างทันที
.
Q5: ลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนในกรณีใดบ้าง?
A: จะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีต่อไปนี้เท่านั้น 1) เสียชีวิต 2) ลาออก 3) ถูกเลิกจ้าง (ไม่ว่าจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่ก็ตาม)
.
Q6: หากออกจากบริษัทเดิม จะต้องทำอย่างไรกับเงินในกองทุน?
A: ลูกจ้างต้องขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่นำส่งไว้กับนายจ้างเดิมภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่ลาออก ถูกเลิกจ้าง หรือเสียชีวิต
.
Q7: ถ้าย้ายไปอยู่บริษัทใหม่ ต้องทำอย่างไรกับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
A: กรณีไปเริ่มงานกับบริษัทใหม่ จะต้องพิจารณาตามเงื่อนไข ว่าบริษัทนั้นๆ เข้าข่ายที่จะต้องเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างหรือไม่ (มีพนักงานมากกว่า 10 คน ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานใหม่)
หากเข้าเงื่อนไข ลูกจ้างจะต้องถูกให้เข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยหักเงินตามอัตราที่กำหนดในรอบจ่ายค่าจ้างเดือนแรก
.
Q8: สามารถตรวจสอบยอดเงินสะสมของตนเองได้อย่างไร?
A: สามารถตรวจสอบยอดเงินได้ตามประกาศของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่จะมีการประกาศต่อไป
.
Q9: หากนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบให้ ลูกจ้างต้องทำอย่างไร?
A: กรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบให้ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม กฎหมายถือว่านายจ้างส่งเงินจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างและลูกจ้างสามารถเบิกเงินจำนวนดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การที่นายจ้างไม่ส่งเงินถือเป็นความผิดตามกฎหมาย และกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีสิทธิสั่งให้นายจ้างส่งเงินสมทบย้อนหลังในส่วนที่ขาดไปได้
.
Q10: ลูกจ้างที่ทำงานไม่ประจำหรืองานชั่วคราวจะมีสิทธิ์เข้าร่วมกองทุนไหม?
A: หากเป็นพนักงานที่ได้รับเงินค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้
ขอขอบคุณที่มาจาก