JOBShopThai
หางานที่ชอบ ช้อปงานที่ใช่

ถูกเลิกจ้างแบบไหน หมดสิทธิ์รับเงินทดแทน

05 กันยายน 2566


กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคมจะให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ออกจากงานและอยู่ในสถานะว่างงาน ถูกไล่ออก ถูกเลิกจ้าง โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อกำหนด และไม่ได้มีการกระทำความผิดใดๆ แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้กระทำความผิด หรือมีเหตุบางข้อที่เข้าข่ายเงื่อนไขทำให้นายจ้างสามารถให้ออกจากงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ประกันตนจะไม่สามารถรับสิทธิ์ชดเชย หรือเงินทดแทนใดๆ ตามกรณีดังต่อไปนี้

 

ทุจริตทำผิดกฎหมาย
หากลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง

 

จงใจทำให้บริษัทฯ เสียหาย
ลูกจ้างทำโดยความตั้งใจ หรือเจตนาที่จะสร้างความเสียหายให้กับนายจ้าง หรือบริษัท ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยบริษัทสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

 

ฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง

การทำงานย่อมมีกฎระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งจากนายจ้างที่ต้องถือเป็นข้อถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนหรือทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง หรือกระทำความผิดซ้ำๆ แม้ได้รับจดหมายตักเตือนแล้ว ลูกจ้างจะไม่สามารถรับสิทธิชดเชย หรือเงินทดแทนใดๆ

 

ไม่มาทำงานติดต่อกัน 7 วัน

ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งลา ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าติดต่อไม่ได้ต่อเนื่อง 7 วัน และทำให้นายจ้างหรือบริษัทได้รับความเสียหาย และไม่มีเหตุผลอธิบายการละทิ้งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลมากพอ

 

ประมาทเลินเล่อ

การกระทําการใดๆ โดยปราศจากความระมัดระวัง หรือละเลยในสิ่งที่ควรกระทํา ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

 

ติดคุกและต้องโทษคดี

ลูกจ้างที่กระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาให้รับโทษจำคุก นายจ้างมีสิทธิให้ออกจากงานได้ทันที และลูกจ้างไม่สามารถเรียกร้องขอค่าชดเชยหรือเงินทดแทนต่างๆ ได้

 

การถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงานอาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คน ไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นน้องจ๊อบอยากให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของบริษัทอย่างเคร่งครัดเพื่อเลี่ยงการกระทําผิด แล้วทำให้เสียโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ ไปด้วย

 

 

ขอขอบคุณที่มาจาก

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน


บทความล่าสุด

5 อันดับ บทความยอดนิยม