JOBShopThai
หางานที่ชอบ ช้อปงานที่ใช่

โนโมโฟเบีย อาการที่คนติดมือถือต้องระวัง

08 สิงหาคม 2565


โทรศัพท์มือถือ เปรียบเหมือนปัจจัยที่ 5 สำหรับใครหลายคนเพราะนิยมใช้กันมากในชีวิตประจำวัน ทั้งการติดต่อสื่อสาร การทำงาน และความบันเทิง แต่การใช้โทรศัพท์มากเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน น้องจ๊อบอยากชวนเพื่อนๆ มารู้จักพฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย และวิธีการป้องกันที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ

 

โนโมโฟเบีย คืออะไร ?

โนโมบายโฟนโฟเบีย (No Mobile Phone Phobia)” หรือเรียกว่า โนโมโฟเบีย คือ อาการขาดมือถือไม่ได้ จัดอยู่ในกลุ่มอาการวิตกกังวล เช่น มีมือถือแต่ใช้งานไม่ได้ เนื่องจากไม่มีสัญญาณหรือแบตเตอรีหมด จะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย บางรายเป็นมาก อาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก และคลื่นไส้ได้

 

พฤติกรรมที่เข้าข่ายโนโมโฟเบีย

  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือ
  • พกและคอยเช็คโทรศัพท์มือถือตลอด
  • กังวลใจถ้าแบตหมดหรือหาโทรศัพท์ไม่เจอ
  • หยุดเล่นโทรศัพท์ไม่ได้แม้แต่ชั่วโมงเดียว
  • เล่นมือถือขณะทำกิจกรรมประจำวัน เช่น ทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ
  • พูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าเพื่อนที่อยู่ตรงหน้า

 

อาการข้างเคียงอื่นๆ

  • นิ้วล็อก
  • สายตาเสื่อมเร็ว
  • ปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่
  • โรคอ้วนจากการนั่งอยู่กับที่นาน ๆ
  • หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมก่อนวัยอันควร

 

วิธีการป้องกัน

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือถือ ดังนี้

  • กำหนดพื้นที่งดใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ขณะขับรถ พื้นที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ค่อยๆ ลดเวลาในการใช้โทรศัพท์ลง 30 นาที -1 ชม. ตามความเหมาะสม
  • ตั้งค่าโทรศัพท์ให้แจ้งเตือนเฉพาะสายเรียกเข้าและข้อความสำคัญ

2. หากิจกรรมอื่นๆ ทดแทน เช่น ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เราชอบ

3. ใช้เวลาพบปะ พูดคุยแบบเจอหน้าคนในครอบครัวหรือเพื่อนๆ ให้มากขึ้น

 

 

ขอขอบคุณที่มาจาก:

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


บทความล่าสุด

5 อันดับ บทความยอดนิยม