หลายคนที่จ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคมทุกเดือน แล้วมีข้อสงสัยว่า แต่ละมาตราจะได้รับความคุ้มครอง สิทธิประโยชน์ ต่างกันอย่างไร วันนี้น้องจ๊อบรวบรวมคำตอบมาให้ ดังนี้ค่ะ
🔹 มาตรา 33
คุณสมบัติ: ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
การสมัคร: นายจ้างดำเนินการให้
เงินสบทบ: 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
คุ้มครอง: 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน
🔹 มาตรา 39
คุณสมบัติ: ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม
การสมัคร: สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
เงินสบทบ: 432 บาท/เดือน
คุ้มครอง: 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ
🔹 มาตรา 40
คุณสมบัติ: บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
การสมัคร: สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ หรือสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม
เงินสบทบ:
ทางเลือกที่ 1: 70 บาท/เดือน *อัตราใหม่ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 60 ต่ออีก 6 เดือน (ก.พ. – ก.ค. 65) ลดเหลือ 42 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2: 100 บาท/เดือน *อัตราใหม่ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 60 ต่ออีก 6 เดือน (ก.พ. – ก.ค. 65) ลดเหลือ 60 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3: 300 บาท/เดือน *อัตราใหม่ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 60 ต่ออีก 6 เดือน (ก.พ. – ก.ค. 65) ลดเหลือ 180 บาท/เดือน
คุ้มครอง:
ทางเลือกที่ 1: ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย
ทางเลือกที่ 2: ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ
ทางเลือกที่ 3: ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร
หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก